ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ
ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ
อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว
และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ
ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย
ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง
พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส
(เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว)
และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ตกระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์
(หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ
สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจายดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป
มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส
และดาวเนปจูนนับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่
ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต
(ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีสมีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า
"ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก
นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็กสำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง
ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ"
ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า
"ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก
เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน
ดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์
คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990
มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ)
ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ
โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์
ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบันกล่าวว่าดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากการยุบตัวลงของกลุ่มฝุ่นและแก๊ส
พร้อมๆ กับการก่อกำเนิดดวงอาทิตย์ที่ใจกลาง ดาวเคราะห์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
สามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์
ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีดาวบริวารโคจรรอบ ยกเว้นดาวพุธและดาวศุกร์
และสามารถพบระบบวงแหวนได้ในดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อย่างดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์
ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
มีเพียงดาวเสาร์เท่านั้นที่สามารถมองเห็นวงแหวนได้ชัดเจนด้วยกล้องโทรทรรศน์
ดาวเคราะห์แคระ
ดาวเคราะห์แคระ
เป็นดาวชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์
ตามการจำแนกชนิดดาวเคราะห์ที่เสนอโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549
นิยามของดาวเคราะห์แคระ อยู่ในวงโคจรรอบดาวฤกษ์
แต่ตัวมันเองไม่ใช่ดาวฤกษ์
มีมวลพอเพียงที่จะมีแรงโน้มถ่วงของตัวเอง
เพื่อเอาชนะแรง rigid body forces
ทำให้รูปทรงมีสมดุลไฮโดรสแตติก
(เกือบเป็นทรงกลมสมบูรณ์)
ไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ
ที่อยู่รอบวงโคจรของมัน ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร
นิยามได้เสนอขึ้น 24
สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล
ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก
ทำให้ดาวพลูโตกลายเป็นดาวเคราะห์แคระ
หลังจากเคยยอมรับว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ
ทั้งนี้เพราะไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบวงโคจรของมันได้
จนถึงปัจจุบัน
มีวัตถุบนท้องฟ้าที่จัดเป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่
พลูโต (Pluto) , ซีรีส (Ceres) , อีริส (Eris) ,เฮาเมอา (Haumea) , มาคีมาคี (Makemake)
กำเนิดดวงดาว
ปฏิกิริยาฟิชชั่นมีผลต่อกำเนิด
ของดวงดาวหรือไม่ความจริงแล้ว
ปฏิกิริยาที่มีผลต่อกำเนิดของ
ดวงดาวคือปฏิกิริยาฟิวชั่น ปฏิกิริยาฟิชชั่นคือปฏิกิริยาที่
นิวเคลียร์ที่มีขนาดใหญ่ อย่างเช่น ยูเรเนียม
แตกตัวออกโดยปล่อย พลังงานมหาศาลออกมาด้วย
ส่วนปฏิกิริยาฟิวชั่นคือปฏิกิริยาที่เกิดจากการรวม
ตัวกันของนิวเคลียร์ขนาดใหญ่
และก็ ปล่อยพลังงานออกมาเช่นกัน กลุ่มก๊าซที่รวมตัวกัน
กลายเป็น
กำเนิดของดวงดาวอย่างเช่นดวงอาทิตย์นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นที่จุดศูนย์กลาง
ซึ่งเรียกเหตุการณ์นี้ว่าการกำเนิดของดวงดาว แล้วก๊าซจำเป็นต่อกระบวนการ
กำเนิดดวงดาวหรือไม่ ไม่มีการ ระบุชนิดของก๊าซลงไปแน่นอนนักว่า ชนิดใดที่จำเป็น
อย่างเช่น ในกลุ่มดวงดาวหนึ่งๆ มีปริมาณ
ก๊าซไฮโดรเจนอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งการที่ก๊าซไฮโดรเจนเกิดการรวมตัวกัน
ที่จุดศูนย์กลางของกลุ่มก๊าซทำให้เกิด กระบวนการกำเนิดดวงดาวขึ้น
แต่ถ้าในกลุ่มก๊าซใดที่มีก๊าซคาร์บอนอยู่มาก ก็สามารถเกิดการรวมตัว ของกลุ่มก๊าซ
ที่ทำให้เกิดดวงดาวอีกชนิดหนึ่ง จะเห็นว่ากลุ่มก๊าซต่างชนิดกัน
ก็จะให้กำเนิดดวงดาวที่แตกต่างกันด้วย อาจจะต่างกันในรูปของขนาด ที่มีทั้งใหญ่เล็ก
หรือความสว่างของดวงดาว
ส่วนของกาแลกซี่ที่มีกำเนิดของดวงดาวมาก
จะอยู่ในบริเวณที่กลุ่มเมฆของก๊าซที่หนาแน่นมาก ซึ่งกลุ่มเมฆที่มีความเหมาะสม
ส่วนใหญ่แล้วจะมี ก๊าซไฮโดรเจนอยู่ด้วย เรียกว่า Molecular Clouds กลุ่มของดาวดวงใหม่ที่เกิดขึ้นจะพบเห็นมากใกล้ๆ
Molecular Clouds ดวงดาวจะต้องมีความร้อนมากเท่าไร
จึงจะถือกำเนิดขึ้นมาได้ หรืออักนัยหนึ่ง
ก็คือที่อุณหภูมิเท่าไหร่ที่ปฏิกิริยาฟิวชั่น จะเกิดขึ้นคำตอบก็คือ ประมาณ 10
ล้านองศาเคลวิน หรือ 20 ล้านองศาฟาร์เรนไฮต์ ซึ่งที่อุณหภูมินี้มีผลต่อปฏิกิริยาฟิวชั่นที่เกิดขึ้นคือ
นิวเคลียสของไฮโดรเจนซึ่งเป็นโปรตอน
จะรวมตัวกันกับอีกตัวที่มีประจุไฟฟ้าเดียวกันแต่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าประจุไฟฟ้า
เหมือนกันจะผลักกัน การที่ไฮโดรเจน จะรวมตัวกันได้ตามปฏิกิริยาฟิวชั่นนั้น
ต้องใช้ความเร็วอย่างสูงที่จะเอาชนะแรงผลักนั้นได้ เหมือนกับคุณมีลูกโป่ง
อยู่รอบเอวของคุณ ทำให้คุณไม่สามารถ เอามือแตะผนังได้ ทางเดียวที่จะทำได้ก็คือ
คุณจะต้องถอยหลัง และวิ่งอย่างเร็วและสุดแรงเพื่อที่จะเอาชนะแรงดันอากาศ
ภายในลูกโป่งจนสามารถเอามือแตะผนังได้ เช่นเดียวกับดวงดาวที่โปรตอนหลายๆ ตัว
ต่างวิ่งอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าใกล้กันมากที่สุด เมื่ออนุภาคของก๊าซมีความเร็วสูง
ก็ทำให้เกิดความร้อนขึ้นสูงด้วย อุณหภูมิก็คือการวัดความเร็ว
ในการเคลื่อนที่ของอนุภาคก๊าซนั่นเอง แล้วคุณคิดว่ากำเนิดของดวงดาว
จะใช้เวลานานเท่าไหร่ การกำเนิด ดวงดาวอย่างดวงอาทิตย์นั้นใช้เวลา
ยาวนานถึงหลายสิบล้านปี เมื่อกลุ่มก๊าซ ที่ทำให้เกิดดวงอาทิตย์มีความหนาแน่น
ระหว่างดวงดาวมาก และมีรูปทรงกลม ที่มีรัศมีใหญ่มาก (เมื่อเปรียบเทียบกับ
ดวงอาทิตย์) นาดของมัน จะเริ่มหดตัวและบีบแน่นขึ้นจนกระทั่งความร้อนเพิ่มขึ้นสูง
ถึง 10 ล้านองศาเคลวินซึ่งทำให้เกิด ปฏิกิริยาฟิวชั่น การหดตัวนั้นจะเกิดขึ้นได้
เมื่อพื้นผิวของทรงกลมมีการสูญเสียพลังงาน (ไม่มีแสงสว่าง)
วัตถุเริ่มอยู่นิ่งภายใต้น้ำหนักตัวของมันเอง เมื่ออุณหภูมิสูง ถึง 10
ล้านองศาเคลวิน ปฏิกิริยาฟิวชั่น เริ่มขึ้นจะมีการปล่อยพลังงานออกมา เป็นจำนวนมากซึ่งจะทดแทนพลังงาน ที่สูญเสียไปบริเวณพื้นผิว ซึ่งทำให้
รูปทรงกลมหยุดการ ดึงดูดกัน เริ่มเป็นดวงดาวเหมือนดวงอาทิตย์
กระบวนการการสูญเสียพลังงานและ
หดตัวในขณะที่อุณหภูมิที่จุดศูนย์กลางสูงขึ้นเมื่อมีความดันมากขึ้น นี้ ใช้เวลา
มากกว่า 10 ล้านปี จะเห็นว่าต้องใช้ระยะเวลายาวนาน
กว่าที่ดวงดาวจะถือกำเนิดขึ้นมาได้ซึ่งมนุษยชาติก็เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของดวงดาวที่เกิดขึ้น
ตลอดเวลา เนื่องจากอาจจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ของระบบสุริยจักรวาลที่เรากำลังอาศัยอยู่ก็ได้
ดาวพุธ
ดาวพุธ (Mercury symbol)
ลักษณะของวงโคจร
ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด: 69,817,079 กม.
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: 46,001,272 กม.
กึ่งแกนเอก: 57,909,176 กม.
ลักษณะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว: น้อยมาก
องค์ประกอบ: 31.7%
โพแทสเซียม
24.9% โซเดียม
9.5% อะตอมออกซิเจน
7.0% อาร์กอน
5.9% ฮีเลียม
5.6% โมเลกุลออกซิเจน
5.2% ไนโตรเจน
3.6% คาร์บอนไดออกไซด์
3.4% น้ำ
3.2% ไฮโดรเจน
ดาวพุธเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้
หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร
ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45%
เท่านั้น
ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต
ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ
ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้
ดาวศุกร์
ดาวศุกร์
( Venus
)
ลักษณะของวงโคจร
ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด: 108,941,849 กม.
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: 107,476,002 กม.
กึ่งแกนเอก: 108,208,926 กม.
ลักษณะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว: 9,321.9 กิโลปาสกาล
องค์ประกอบ: ~96.5%
คาร์บอนไดออกไซด์
~3.5% ไนโตรเจน
0.015%
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
0.007%
ไอน้ำ
0.002%
คาร์บอนมอนอกไซด์
0.0017%
อาร์กอน
0.0012%
ฮีเลียม
0.0007%
นีออน
คาร์บอนิลซัลไฟด์
ปริมาณน้อยมาก
ไฮโดรเจนคลอไรด์
ปริมาณน้อยมาก
ไฮโดรเจนฟลูออไรด์
ปริมาณน้อยมาก
ดาวศุกร์
(อังกฤษ: Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่
2 ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า
"น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม
มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด
สำหรับวัตถุในธรรมชาติ
ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3
รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก
จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8°
มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น
ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง"
และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า
"ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง"
ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว
1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์
น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀
โลก
โลก (อังกฤษ: world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์
รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์
หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงที่ใด ๆ
บนดาวเคราะห์โลก
ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ
โลกที่เป็นเอกภพทางกายภาพทั้งหมด และโลกในแบบภววิทยา ในทางเทววิทยา โลก หมายถึง
โลกที่เป็นวัตถุหรือภพภูมิที่เป็นโลกียะ ซึ่งต่างจากสภาพจิตวิญญาณ อุตรภาพ
หรือศักดิ์สิทธิ์ คำว่า "โลกาวินาศ" หมายถึง
สภาพการณ์ที่เชื่อว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
แนวคิดนี้มักพบในศาสนาต่าง ๆ
ประวัติศาสตร์โลก หมายถึง
พัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์หลัก ๆ ในช่วง 5 สหัสวรรษตั้งแต่อารยธรรมแรกมาจนปัจจุบัน
ประชากรโลก หมายถึง
จำนวนรวมประชากรมนุษย์ทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ
และเช่นเดียวกันคำว่าเศรษฐกิจโลกก็หมายถึง สภาพเศรษฐกิจของสังคมทั้งหมดทุกประเทศ
โดยเฉพาะในบริบทของโลกาภิวัตน์
คำว่าโลกใน ศาสนาโลก ภาษาโลก และสงครามโลก
เน้นถึงขอบข่ายระหว่างประเทศหรือระหว่างทวีป
โดยไม่ได้หมายความว่าเกี่ยวกับโลกโดยรวมทั้งหมด
ส่วนคำว่าโลกในแผนที่โลก ภูมิอากาศโลก
มิได้หมายถึงโลกในเชิงวัฒนธรรมหรืออารยธรรมมนุษย์ แต่หมายถึงดาวเคราะห์โลก